หลายคนเคยฝันว่าอยากไปเรียนต่างประเทศ ทั้งการแลกเปลี่ยนยนระยะสั้น ระยะยาว หรือไปเรียนต่อระดับปริญญา แต่ด้วยสถานการณ์หลายๆอย่างทำให้ไม่ได้ไปสักที แต่ในปัจจุบันด้วยสภานการณ์บ้านเมืองที่อยู่ยากขึ้นทุกวัน เริ่มมีการย้ายประเทศรวมถึงไปศึกษาต่อต่างประเทศอย่างจริงจังเป็นจำนวนมาก ใครที่กำลังลังเลอยู่ หรือมีฝันแล้วแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ยิ่งกับสาย Graphic ยิ่งต้องดู พวกเรา JaLearn จะมาแนะนำแนวทางสำหรับการอยู่รอดในต่างประเทศให้เอง!
สำหรับน้องๆนักเรียนที่ยังไม่เข้าใจว่า Graphic Designer คืออะไร ทำงานยังไง เราจะมาเริ่มกันก่อนเลย
Graphic Designer
คือ สายงานในการออกแบบ ที่ต้องอาศักความ Creative หรือความสร้างสรรค์อย่างมาก แต่นอกจากจะสร้างสรรค์แล้วยังต้องตอบโจทย์ของลูกค้า รวมถึงการใช้งานและภ่ายทอดอักษณ์ขององค์กรออกมาได้อย่างดีไปพร้อมๆกันด้วย ในประเทศไทยมีสายงานนี้ค่อนข้างหลากหลาย แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่วไปมีไม่มากนัก เช่น Graphic Designer, Designer, Ux/Ui, Animation Design เป็นต้น
ซึ่งตำแหน่งงานที่กล่าวมานั้นค่อนข้างกว้างและมีความเหลื่อมล้ำในหน้าที่ของบริษัทหลายอย่าง แตกต่างกับต่างประเทศ ที่จะเน้นไปที่ความเฉพาะเจาะจงในสายงานนนั้นๆเลย ไม่มีการควบหน้าที่กัน ทำให้มีตำแหน่งงานที่หลากหลายและมีศักยภาพมากกว่าเนื่องจากทุกๆคนได้ทำงานในส่วนที่ตัวเองถนัดที่สุดและทำออกมาได้ดี ในต่างประเทศจึงมีการเรียนการสอนที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงมากกว่า ว่าแล้วก็มาดูสถาบันที่สอนการ Design กันว่ามีที่ไหนบ้าง
สถาบันการศึกษาด้าน Graphic Designer
อ้างอิงข้อมูลจาก QS World University Rankings by Subject 2021
Royal College of Art
ลอนดอน สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) โดนเด่นด้านสาขาวิชา วิจิตรศิลป์ สถาปัตยกรรม ศิลปะประยุกต์ การออกแบบ การสื่อสารและมนุษยศาสตร์ นอกจากวิชาเรียนที่ลงลึกแล้ว ในเรื่องของคอนเนกชั่นที่นี่ก็แน่นไม่แพ้กัน ได้ทั้งความรู้ทั้งสังคมต้องไม่พลาด
University of the Arts London
ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เช่นเดียวกัน เปิดสอนหลักสูตรศิลปะ การออกแบบแฟชัน การสื่อสารและศิลปะการแสดง โดยที่นี่จะเน้นการทำงานศิลปะและการันตีการเข้าทำงานของผู้เรียน มีบัณฑิตมากมายจากที่นี่ที่ได้รับรางวัลมาแล้วมากมาย
Parsons School of Design at The New School
ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรม ธุรกิจการออกแบบ การออกแบบ การออกแบบแฟชั่นและการศึกษาด้านแฟชั่น การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบภายในการออกแบบแสงและการถ่ายภาพ โดดเด่นด้านการสื่อสาร และนักออกแบบชื่อดังอย่าง Paul Rand ผู้เป็นตำนานด้านโฆษณาและ Bea Feitler ผู้กำกับศิลป์ของ Harper’s Bazaar ยังจบจากที่นี่อีกด้วย
นอกจากหลักสูตรที่หลากหลายแล้ว ยังมีอาชีพที่รองรับมากมาย
- Graphic Designer นักออกแบบภาพประกอบเพื่อการสื่อสาร
- Creative Director ผู้ดูแลภาพลักษณ์ที่สร้างสรรค์ของบริษัท
- Web Designer นักออกแบบเว็บ
- Game Artist นักออกแบบเกม
- Cartoon Designer นักวาด/ออกแบบการ์ตูน
- Ux/Ui Designer ผู้ดูแลความต้องการของผู้บริโภค
- Animator นักออกแบบในวงการ 3D
- Illustrator นักวาดภาพประกอบ
- Content Creator ผู้ออกแบบคอนเทนท์
- Content Writer นักเขียนตอนเทนท์
- Character Design นักออกแบบตัวละคร
- Writer นักเขียน
- Producer ผู้กำกับ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างอาชีพที่พบได้ทั่วไป แต่บางอาชีพก็ไม่เป็นที่ยอมรับในไทย ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากรัฐบาลไม่ได้สนับสนุนอาชีพสายศิลปะที่ใช้ความสร้างสรรค์เป็นหลัก ทำให้มาตราฐานของรายได้ค่อนข้างต่ำ
แต่หากเป็นในต่างประเทศจะกลับกันลิบลับ ยิ่งในประเทศที่มีการสนับสนุนและให้ทุนกับสายงานด้านนี้ ทั้งยังเห็นคุณค่าของศิลปะว่าส่งผลต่อความคิดและจิตใจของผู้คนมากเพียงใด รายได้ของสายอาชีพเหล่านี้ก็จะสูงมากขึ้นจนน่าอิจฉาเลยด้วย
มาดูโอกาสและรายได้ของอาชีพด้านศิลปะของต่างประเทศกันว่าจะเป็นอย่างไร
ข้อมูลจาก IBISWorld 2019 บอกว่าวงการ Graphic Design กำลังเติบโตเป็นวงกว้างและจะเติบโตเรื่อยๆคิดเป็นร้อยละ 3.5 นอกจากนี้รายได้ในอุตสาหกรรมส่วนนี้ยังมากถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และในปี 2020 รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศว่าอาชีพสายศิลปะและดีไซน์เป็นอาชีพที่ขาดแคลน นอกเหนือจากประเทศอังกฤษแล้ว ประเทศสก็อตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือก็ยังขาดแคลนเช่นกัน
อาชีพสายศิลปะที่ขาดแคลน
- Architect สถาปนิก
- Artist ศิลปิน
- Graphic Designer กราฟิก ดีไซน์เนอร์
- Web Design and Development ผู้พัฒนาและออกแบบเว็บไซต์
- Arts Officers เจ้าหน้าที่งานศิลป์
- Producers ผู้ควบคุมการผลิตรายการ
- Directors ผู้กำกับงานภาพยนตร์
นอกเหนือจากประเทศที่กล่าวมาก ประเทศแห่งอุตสาหรรมการออกแบบอย่างอเมริกาก็มีการเติบโตมากขึ้นในทุกๆวัน มีบริษัทเปิดเพิ่มขึ้นมากมายทำให้ตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน ในส่วนของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์แม้จะยังไม่มีสำรวจออกมาว่าขาดแคลนอาชีพสายศิลปะแต่ก็อยู่ใน Skill level Classification ที่สามารถยื่นสมัครงานได้เช่นกัน และถ้าหากไปเรียนต่อหรือเรียนเสริมในประเทศดังกล่าวจะทำให้ได้ความน่าเชื่อถือและ Points มากขึ้น เมื่อขอวีซ่ามาทำงานจะยิ่งเป็นแต้มต่อให้ผ่านได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง
สำหรับใครที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะเอายังไงกับงานหรือการเรียนต่อดี บอกเลยว่าไม่ต้องห่วงแล้ว มีเส้นทางรองรับอยู่มากมายที่รอให้คุณไปสัมผัสและเรียนรู้ประสบการณ์ดีๆ รวมถึงเปิดกว้างด้านศิลปะและสวัสดิการมากกว่าที่ไทย ถ้ามีโอกาสก็อยากให้ลองไปดูกันจ้า