การทำ Infographic ที่ดี ต้องรู้จักข้อมูลของตัวเองให้ดี และมีศิลปะในการนำเสนอ ไม่ใช่ว่าข้อมูลทุกอย่างจะสามารถนำเสนอแบบเดียวกันได้ วันนี้เราจะมาดูการจัดวางทั้ง 9 แบบ ว่าแต่ละแบบเหมาะกับข้อมูลแบบไหน ทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ และเป็น Infographic ที่อ่านได้เข้าใจง่ายอย่างแท้จริง
1. Visualised Article - แปลงงานเขียนให้เป็นภาพ
เป็นการนำบทความหรือเรื่องเล่ามาแปลงเป็นภาพ สามารถใส่ได้ทั้งตัวอักษรและรูป หรือถ้าไม่ใส่รูป ก็สามารถใส่เป็นตัวเลขกราฟได้แทน เหมาะกับข้อมูลทั่ว ๆ ไปเชิงให้ความรู้
2. Listed - เล่าเป็นข้อๆในหัวเรื่องเดียว
มักใช้กับเรื่องที่มีหัวข้อเป็นตัวเลข เช่น 5 เทคนิคการทำงานใน Ai ให้มีมิติ, 4 ข้อห้ามที่ไม่ควรทำในการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น โดยจะมีหัวข้อใหญ่ และมีข้อย่อยเป็นข้อมูล ที่แต่ละข้อจะจบในตัวเอง
3. Comparison - ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบความต่าง
ใช้กับข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อดี-ข้อเสีย, สิ่งที่ควรทำ-ไม่ควรทำ, พฤติกรรมจากการทำบางสิ่ง-ไม่ทำบางสิ่ง เป็นต้น ก็จะเห็นความต่างและรายละเอียดของการทำสิ่งนั้น ๆ ด้วย
4. Structure - แสดงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
เป็นการเล่าถึงผลิตภัณฑ์บางอย่าง เพื่อการขาย หรือเพื่อแสดงให้เห็นจุดเด่น โดยบอกเป็นข้อ ๆ หรือการแสดงภาพภายในของผลิตภัณฑ์ให้ล้อกับข้อมูล หรือการแสดงส่วนประกอบแบบแยกส่วน ให้เห็นได้ชัดและเห็นภาพมากขึ้น
5. Timeline - เล่าเรื่องตามระยะเวลา
ใช้กับการเล่าประวัติบุคคล บริษัท ประวัติศาสตร์ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวลาและการเปลี่ยนแปลง โดยจะเป็นเส้นตรง แสดงข้อมูลตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ใส่ปีหรือชื่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงให้เห็นว่าสิ่งใดเกิดก่อนหรือหลัง รวมถึงสามารถใส่จุดและใส่ระยะห่างของจุดเพื่อแสดงระยะเวลาที่ห่างกันของแต่ละเหตุการณ์ได้
6. Flowchart - บอกผลลัพธ์ลำดับขั้น
ใช้มากกับการทำงานเชิงตรรกะ หรือการแสดงให้เห็นการตัดสินใจกระทำบางอย่างแล้วจะเกิดผลอย่างไร เช่น การสร้างควิซเล่น หรือการสร้างขั้นตอนการสร้างโปรแกรม เป็นต้น
7. Roadmap - เล่าขั้นตอนการทำงาน
8. Useful - บอกข้อมูลบางอย่างให้นำไปใช้ได้ทันที
เป็นข้อมูลวงกว้างคล้าย ๆ กับ Visualised Article แต่จะเน้นให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย กลุ่มต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องต่อกัน อาจจะเชื่อมเนื้อหากันบางอย่างได้ ข้อมูลเป็นข้อมูลทั่วไปเน้นอ่านแล้วเข้าใจได้เร็ว
9. Numberporn - แปลงข้อมูลตัวเลขออกมาเป็นกราฟ
เป็นข้อมูลเชิงตัวเลข สถิติ การคำนวณที่มีค่าต่าง ๆ เป็นจำนวน ให้นำตัวเลขพวกนี้มาทำเป็นกราฟ ไม่ว่าจะเป็นแผนภูมิวงกลม หรือแผนภูมิแท่งก็ตาม ทำให้ค่าต่าง ๆ เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนมากขึ้น และควรที่จะใช้ดีไซน์ของไอคอนให้เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น กราฟ 3D, กราฟ 2D เป็นต้น
เมื่อเรารู้แล้วว่าการทำ Infographic มีเลย์เอาท์แบบใดบ้าง เราก็สามารถนำข้อมูลที่มีมาจัดวางให้เหมาะสม จะทำให้การเล่าเรื่องเป็นไปอย่างเหมาะสมและเข้าใจได้ง่าย ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรใช้แบบอื่นๆ แต่ถ้าใช้ข้อมูลและการจัดวางให้สอดคล้องกัน ก็จะน่าอ่านและรู้สึกลื่นไหลในข้อมูลมากขึ้นนั่นเอง และถ้าหากไม่รู้จะใช้สีอะไรในการทำ สามารถใช้สีจาก แจก Swatches สีสำหรับงาน Infographic ก็ทำให้งานโดดเด่นได้มากขึ้นครับ